การพัฒนาโลจิสติกส์แบบควบคุมอุณหภูมิเป็นปัจจัยที่สำคัญในการสร้าง ความยั่งยืนให้กับระบบโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน เนื่องจากเป็น กระบวนการที่ช่วยลดการสูญเสียของสินค้า โดยจำเป็นต้อง มีระบบติดตามเพื่อให้ทราบถึงสาเหตุที่ทำให้เกิดการสูญเสีย ซึ่งจะทำให้ผู้ประกอบการสามารถบริหารจัดการทรัพยากร ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งนี้ ระบบการติดตามและ ตรวจสอบย้อนกลับ (Tracking and Tracing System) เป็น ปัจจัยสำคัญในการติดตามสินค้าในโลจิสติกส์แบบควบคุมอุณหภูมิ ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 2 ระบบ คือ
1. การติดตาม (Tracking)
การติดตาม (Tracking) คือ ระบบติดตามสินค้า เพื่อให้ ผู้ผลิตทราบว่าสินค้าที่ส่งไปวางจำหน่ายอยู่ที่ใดบ้าง ทั้งนี้ ในกรณีที่พบว่าวัตถุดิบในการผลิตสินค้าล็อตหนึ่งมีปัญหาจะ ทำให้สามารถเรียกคืนสินค้าล็อตที่มีปัญหาทั้งหมดได้ อย่างถูกต้อง (การค้นหาปลายทางของสินค้า)
2. การตรวจสอบย้อนกลับ (Traceability)
การตรวจสอบย้อนกลับ (Traceability) คือ ความสามารถ ในการสืบได้ว่าสินค้ามีแหล่งที่มาของวัตถุดิบ บรรจุภัณฑ์ หรือ ส่วนที่เกี่ยวข้องจากที่ใด หรือมีปัญหาการผลิตขึ้นเมื่อใดและ จากสายการผลิตไหน ซึ่งจะทำให้ทราบว่าจุดใดที่ก่อให้เกิด ปัญหาและได้ผลิตสินค้าไปมากน้อยเพียงใด และมีข้อมูล รายละเอียดในขั้นตอนกรรมวิธีการผลิตอย่างไร ทั้งนี้ การตรวจสอบย้อนกลับจะดำเนินการตลอดทั้งโซ่อุปทาน ตั้งแต่การผลิต การจัดส่ง และการกระจายสินค้าจนถึง
ทั้งนี้ ในการพัฒนาโลจิสติกส์แบบควบคุมอุณหภูมิจำเป็นต้องอาศัยเทคโนโลยี ด้านโลจิสติกส์แบบควบคุมอุณหภูมิดิจิทัลเข้ามาช่วยในระบบการติดตาม (Tracking) และตรวจสอบย้อนกลับ (Traceability) เพื่อให้เกิด การควบคุมอุณหภูมิให้คงที่ตลอดทั้งโซ่อุปทาน ซึ่งจะสร้าง ความน่าเชื่อถือให้แก่คุณภาพสินค้า โดยมีเทคโนโลยีที่สำคัญ ในการติดตามและการตรวจสอบย้อนกลับ คือ เทคโนโลยีระบุ ลักษณะสินค้าด้วยคลื่นความถี่วิทยุ (Radio Frequency Identification หรือ RFID Technology)
ปัจจุบันมีการประยุกต์ใช้ RFID Data Logger ในการติดตาม และบันทึกการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิหรือความชื้น ในกระบวนการเก็บรักษา การขนส่ง และการจำหน่ายสินค้า โดย RFID Data Logger จะระบุความเฉพาะเจาะจงของวัตถุดิบ ต่าง ๆ โดยใช้คลื่นความถี่วิทยุในการสื่อสาร ซึ่งมีประสิทธิภาพ สูงกว่าการใช้ฉลากหรือรหัสแท่ง (Bar Code) เนื่องจากทนทาน ต่อความเปียกชื้นสูง ลดการสัมผัส และสามารถอ่านข้อมูลได้ ในระยะไกล โดยจะมีไมโครชิปติดภายในอุปกรณ์ สำหรับบันทึก ข้อมูลสินค้าและแปลงข้อมูลจากอนาล็อกเป็นดิจิทัล ทำให้มีความแม่นยำสูงและลดการผิดพลาดที่เกิดขึ้นจากการกระทำของคน (Human Error) ทั้งนี้ ข้อมูลจะถูกเชื่อมโยงไปยังระบบ จัดเก็บและประมวลผล ดังนั้นผู้ประกอบการจำเป็นต้องพัฒนา
ระบบการจัดเก็บข้อมูลควบคู่กันด้วย เพื่อรองรับการจัดการข้อมูลที่จะเกิดขึ้นตลอดโลจิสติกส์แบบควบคุมอุณหภูมิ (End-to-end) ซึ่งจะเป็นประโยชน์ สำหรับผู้ประกอบการในการวิเคราะห์ข้อมูลแบบเรียลไทม์ (Real-time data analysis) ทำให้สามารถตรวจสอบหาต้นเหตุปัญหาที่เกิดกับสินค้าได้ว่าเกิดจากกระบวนการ ณ จุดใด เพื่อแก้ไขปัญหาได้ทันท่วงที โดยเฉพาะเมื่อเกิดวิกฤตต่าง ๆ อาทิ การปนเปื้อนของเชื้อโรค หรือสารเคมี รวมทั้งใช้ในการปรับปรุงและวางแผนการบริหารจัดการทรัพยากรและความเสี่ยงทั้งกระบวนการ ซึ่งจะส่งผลต่อ ความน่าเชื่อถือและสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า
บทความที่เกี่ยวข้อง: ความเป็นมาของ INCOTERM 2010, กระบวนการโลจิสติกส์โซ่ความเย็น (Cold Chain Logistics), ปัจจัยของโซ่ความเย็น (Cold Chain Elements), การจัดการโซ่ความเย็น (Cold Chain Management)
Comments